::: Lannaparty ::: Design Wellcome - ประเพณียี่เป็งล้านนา Hithot
   
  Lannaparty Home
  เมืองเก่าเวียงท่ากาน
  สันป่าตองวิทยาคมเชียงใหม่
  Admission 2008
  SWK-Animation
  New ! ประชาสัมพันธ์ New !
  ข่าวท้องถิ่น-News
  หางานทำประจำวัน New
  TV Online
  Raio Online
  เว็บไซต์เพื่อนบ้านล้านนา
  ประเพณียี่เป็งล้านนา Hithot
  ๘๐ ล้านดวงใจร่วมกันทำดีเพื่อพ่อ
  อาณาจักรล้านนา
  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.ช.
  อักษรล้านนา Lanna Font
  เยี่ยมชม-ความคิดเห็น
  About Member

ประวัติของโคมลอย ตอนที่ ๑

"โกมไฟ หรือว่าวไฟ หรือโคมไฟ"

>>> ปัจจุบัน การปล่อยโคมไฟ นอกจาก จะปล่อยในเดือน ยี่เป็งของล้านนาแล้ว บางแห่งยัง นิยมปล่อยในวันขึ้นปีใหม่ งานบุญศพในคืน สุดท้ายก่อนนำศพไปเผา บางแห่งปล่อย ในงานขึ้นบ้านใหม่ และงานบุญต่างๆ แล้วแต่ เจ้าภาพจะทำกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ แสดงให้เห็น การเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมตามกาลเวลา

>>> ยามค่ำคืนผู้คน ในล้านนา มักจะเห็น ลูกไฟดวงใหญ่ ลอยเลื่อนไหล ตามแรงลม เปล่งแสงสกาว แต่งแต้มท้องฟ้า ในยามราตรีให้สวยงาม โดยเฉพาะ ในคืนเดือนยี่เป็ง ของทางล้านนา ผู้คนเรียก ดวงไฟนี้ว่า “โกมไฟ(โคมไฟ)” หรือ "ว่าวไฟ"

>>> จากคำบอกเล่า ของผู้เฒ่าได้เล่ากันว่า "การปล่อยโคมไฟ เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกให้หมดไป บ้างก็ว่า เป็นการบูชาเทวดาบนสวรรค์ บ้างก็ว่าปล่อย เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี" ในอดีตจาก คำบอกเล่าของผู้เฒ่า และประสบการณ์ของผม การปล่อยโคมไฟ จะมีเฉพาะ คืนเดือนยี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ หรือวัน ลอยกระทง ของชาวภาคกลาง ในการปล่อยโคมไฟ จะมีลูกเล่นต่างๆแล้วแต่คนนั้นๆ จะทำขึ้นมา เช่น ประทัด ลูกไฟหยวาด (ดอกไม้ไฟแตก ออกเป็นแสงตกลงมา) ทำให้มีสีสันมากขึ้น

>>> ในส่วนของการจัดงานสำหรับประชาชนทั่วไป จะมีการนำกระทงประดิษฐ์มาร่วมลอยกระทงที่แม่น้ำ แต่ก็จะมีบางท้องถิ่นที่จะมีกิจกรรมที่แสดงลักษณะเฉพาะ ของตน เช่น งานประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่  ความพิเศษของประเพณียี่เป็ง คือ การปล่อย "โคมลอย" ทั้งชนิด "โคมไฟ" และ"โคมควัน" ขึ้น
ซึ่งเชื่อว่าเป็นการบูชาพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ การทำโคมลอยนับเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ศิลปะและเทคนิคเข้าช่วยเป็นอย่างมาก ผู้จัดทำจะต้องมีความชำนาญ การทำโคมลอยนั้นจะต้องใช้เทคนิควิทยาศาสตร์เหมือนกับการทำบอลลูนของฝรั่ง โดยใช้กระดาษแก้วหรือกระดาษสา ทำเป็นถุงลมรูปร่างต่างๆ ตามแต่จะคิดทำ ความเชื่อในการจัดทำโคมลอยนั้นถือว่าเป็นการ นำเอาเคราะห์เอาโศกลอยออกจากตัวเราและบ้านเรือน หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการลอยเคราะห์ก็ได้

>>> ประมาณ ๒-๓ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เห็นได้ว่า การปล่อยโคมไฟ นอกจากจะปล่อย ในเดือนยี่เป็งของล้านนาแล้ว บางแห่งยังนิยมปล่อย ในวันขึ้นปีใหม่ งานบุญศพในคืนสุดท้าย ก่อนนำศพไปเผา บางแห่งปล่อยในงานขึ้นบ้านใหม่ งานบุญต่างๆ แล้วแต่เจ้าภาพ จะทำกัน ตามความเชื่อที่ของแต่ละคน บ้างก็ว่าเพื่อให้วิญญาณได้ขึ้นสวรรค์ บ้างก็ว่าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและชีวิต ยิ่งกว่านั้นตามรีสอร์ต หรือโรงแรมมีการปล่อยโคมไฟ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ดูกัน กลายเป็นประเพณี ธุรกิจการค้าไปเลย
งานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ในจังหวัดอื่นๆ จัดให้มีขบวนแห่พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนแห่กระทง และมีขบวนต่างๆ  นอกจากประเพณีที่รู้จักกันในชื่อของประเพณีลอยกระทงแล้ว ในภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง

>>> ยังมีการจัดงานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเขื่อเดียวกันนี้ แต่จัดในช่วงวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๑๑ เรียกกันว่า ประเพณีไหลเรือไฟ โดยหมู่บ้านต่าง ๆ จะแข่งกันทำเรือไฟ ซึ่งทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ ๑๐-๑๒ เมตร ภายในเรือบรรจุขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาคทาน ด้านนอกเรือประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ ซึ่งในปัจจุบันมีการประดิษฐ์เรือไฟเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปสถานที่สำคัญ หรือสัตว์ในหิมพานต์ เมื่อถึงช่วงเวลาปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำ ท้องน้ำจึงสวยงามสว่างไสวด้วยแสงตะเกียงนับหมื่น ๆ ดวง นับเป็นภาพที่ประทับใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้เห็น

>>> ในไม่ช้าความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมที่ถูกต้อง จะค่อยๆ หายไป กับกาลเวลา ดังเช่นวัฒนธรรมการปล่อยโคมไฟของล้านนา ในอนาคต อาจจะรู้เพียงแต่ว่า การปล่อยโคมไฟนั้น เป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก หาความเป็น สิริมงคลในชีวิต และการหาเงิน จากประเพณีของล้านนา โดยไม่ทราบเป้าหมาย ที่แท้จริงของประเพณี การปล่อยโคมไฟล้านนา




 รูปภาพโคมไฟ หรือว่าวไฟ
Loi Kra Thong : 24th November 2007
ล้านนา เชียงใหม่ ประเทศไทย.

   
Today, there have been 4 visitors (14 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free