::: Lannaparty ::: Design Wellcome - เมืองเก่าเวียงท่ากาน
   
  Lannaparty Home
  เมืองเก่าเวียงท่ากาน
  สันป่าตองวิทยาคมเชียงใหม่
  Admission 2008
  SWK-Animation
  New ! ประชาสัมพันธ์ New !
  ข่าวท้องถิ่น-News
  หางานทำประจำวัน New
  TV Online
  Raio Online
  เว็บไซต์เพื่อนบ้านล้านนา
  ประเพณียี่เป็งล้านนา Hithot
  ๘๐ ล้านดวงใจร่วมกันทำดีเพื่อพ่อ
  อาณาจักรล้านนา
  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.ช.
  อักษรล้านนา Lanna Font
  เยี่ยมชม-ความคิดเห็น
  About Member


โดย นายสงกรานต์ สมจันทร์
http://www.wiangthakan.com
ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

        เนื่องจากเว็บไซต์เวียงท่ากานดอทคอมไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากโดเมนเนมหมดอายุ จึงทำการย้ายข้อมูลมาอยู่ในเว็บไซต์นี้ 

ขณะนี้กำลังดำเนินการย้ายข้อมูลเวียงท่ากานไปยังบ้านเฮาดอทคอม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ


ข้อมูลชั่วคราวของแหล่งโบราณสถานเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่

      เวียงท่ากานหรือสมัยก่อนเรียกกันว่า พันนาทะการ เป็นเมืองที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญไชย มีอายุมากกว่า 1,200 ปี เชื่อกันว่าเวียงท่ากานคงจะเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์แห่งแคว้นหริภุญไชย ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งจะเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีความสำคัญเมืองหนึ่งของแคว้นหริภุญไชย สืบต่อมาจนถึงสมัยพญาเม็งราย(พ.ศ.1804 – 1854) ช่วงก่อนตั้งเมืองเชียงใหม่ ก็ปรากฏชื่อในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า “เวียงพันนาทะการ” คงจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่งเพราะพญาเม็งรายโปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปต้นหนึ่งในจำนวนสี่ต้นมาปลูกที่เวียงพันนาทะการดังปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ คำว่า “ท่ากาน” ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า “ต๊ะก๋า” ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อนหน้านี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี่ ชาวบ้านกลัวว่าถ้าบินลงแล้วจะทำให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้าน จึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้ลงมา ก็เลยเรียกกันต่อมาว่า บ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 เจ้าอาวาสวัดท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่า บ้านต๊ะก๋า ไม่เป็นภาษาเขียน ปัจจุบันกลุ่มโบราณสถานที่ยังหลงเหลือให้เห็นเป็นกลุ่มใหญ่ที่สำคัญๆ อยู่ 6 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 โบราณสถานกลางเมือง ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองพอดี เป็นกลุ่มโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 14ไร่ ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญที่ยังเหลืออยู่คือ เจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภุญไชยและเจดีย์ทรงกลมสมัยล้านนานอกจากนี้ยังปรากฏซากเนินโบราณสถานอีกหลายเนิน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเจดีย์ วิหาร อีกหลายเนินภายในกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ได้เคยมีคนขุดพบพระบุทองคำ เงิน สำริด พระพิมพ์ดินเผาที่สำคัญคือ ไหลายครามสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดท่ากาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นโถใส่กระดูกของพระเถรผู้ใหญ่ ปัจจุบันเจดีย์ทั้งสององค์นี้ ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2531 โดยหน่วยศิลปากรที่ 4 ได้พบโบราณวัตถุที่สามารถจำกำหนดอายุของเจดีย์ทั้ง 2 องค์ ได้ว่า มีอายุอยู่ในช่วงหริภุญไชยลงมาจนถึงล้านนา
กลุ่มที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง ชาวบ้านเรียกว่า กลุ่มวัดพระอุโบสถ เนื่องจากในบริเวณนี้มีพระอุโบสถหลังเก่าลงแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ทับฐานเดิม นอกจากนี้ยังปรากฏซากเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาและฐานเนินวิหาร และยังคงมีซากเนินโบราณสถานกระจายอยู่ในบริเวณนี้อีก 2 – 3 แห่ง อีกทั้งยังมีซากเนินซุ้มประตูโขง และแนวกำแพงให้เห็นเป็นช่วง ๆ
กลุ่มที่ 3 อยู่ทางทิศใต้ของเมืองชาวบ้านเรียกว่า กลุ่มวัดต้นโพธิ์ เนื่องจากเชื่อว่ามีต้นโพธิ์ต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พญาเม็งรายทรงโปรดให้นำมาปลูก ในบริเวณนี้มีซากเนินโบราณสถานกระจายกันอยู่ 4 เนิน ภายในวัดประกอบด้วยฐานวิหารและเจดีย์ประธาน มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพงแก้วล้อมรอบ สถาปัตยกรรมของกลุ่มวัดต้นโพธิ์จัดเป็นศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 22
กลุ่มที่ 4 อยู่ทางตอนกลางของเมืองค่อนไปทางทิศตะวันออก ชาวบ้านเรียกว่า วัดหัวข่วง ปรากฏซากเนินโบราณสถานที่เป็นเจดีย์และวิหารโดยวิหารเหลือแต่ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศใต้ ฐานเจดีย์ประธานเป็นลักษณะแบบทรงเรือนธาตุ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ กลุ่มวัดหัวข่วงนี้จัดเป็นศิลปะแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
กลุ่มที่ 5 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองชาวบ้านเรียกว่า กลุ่มวัดพระเจ้าก่ำ ปรากฏซากเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ 2 เนิน ชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปสำริดองค์หนึ่งถูกเผาไฟจนกลายเป็นสีดำ จึงเรียกว่าพระเจ้าก่ำ ภายในบริเวณโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยฐานวิหารและเจดีย์ประธาน ลักษณะเจดีย์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฐานชั้นล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับเรือนธาตุอยู่ด้านบน ฐานเจดีย์นี้ได้เชื่อมต่อกับฐานของวิหารโบราณสถานกลุ่มนี้เป็นศิลปะแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 22
กลุ่มที่ 6 ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง อยู่ในเขตบ้านต้นกอก ชาวบ้านเรียกว่า กลุ่มต้นกอก มีเจดีย์ทรงกลมที่ช่วงฐานมีการขยายฐานออกไปอีก เพื่อสร้างเจดีย์แบบพม่าสวมครอบทับเมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังสร้างไม่เสร็จนอกจากนั้นยังมีซากเนิน

โบราณสถานอีก 3 แห่ง โบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังมีฐานใหญ่ซ้อนกัน 3 ชั้น ตั้งอยู่หลังวิหารในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก นอกจากนี้ยังปรากฏฐานวิหารอยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์อีกฐานหนึ่ง และใกล้กับฐานนี้ไปทางทิศตะวันตกมีวิหารอีกฐานหนึ่งตั้งอยู่ 
 


ข้อมูลโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
http://www.svk.ac.th/index.php?name=Content&pid=11 


ทีมงานข้อมูลเวียงท่ากาน เชียงใหม่
สงกรานต์ สมจันทร์และภัคพล คำหน้อย
Copyright © 2007-2008 by
www.lannaparty.page.tl of Lanna All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดในหน้านี้
 
 
ตั้งแต่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

   
Today, there have been 2 visitors (5 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free